ผู้มีอิทธิพลในโลกโซเชียล

 
Macro Micro Nano Influencer Content   
Macro Influencer, Micro Influencer, Nano Influencer คืออะไร ควรเลือกกลุ่มไหนในการทำตลาด

"Macro influencer," "Micro influencer," และ "Nano influencer" 
เป็นคำที่ใช้ในวงการการตลาดและโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่ออธิบายขนาดและขอบเขตของกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ 

     
1.Macro Influencer:
บุคคลในกลุ่มนี้มีจำนวนผู้ติดตามที่มากมาย ทั้งในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เช่น นักบอลอาชีพ, นักร้อง, นักแสดง, บุคคลสาธารณะ, และบุคคลในวงการบันเทิงทั่วไป เป็นต้น ผู้ติดตามของ macro influencer มักมีหลักแสน หลักล้าน
 

     2.Micro Influencer:
บุคคลในกลุ่มนี้มีจำนวนผู้ติดตามที่น้อยกว่า macro influencer แต่ยังคงมีความสามารถในการสร้างอิทธิพลไม่น้อยไปกว่ากัน โดยมักเน้นในกลุ่มเฉพาะที่สนใจเฉพาะ และมีความน่าเชื่อถือ ผู้ติดตามหลักพัน หลักหมื่น
 

     3.Nano Influencer:
บุคคลในกลุ่มนี้มีจำนวนผู้ติดตามน้อยกว่า micro influencer โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงหลักร้อยถึงหลักพัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ติดตามมักมีความเชื่อมั่น Nano Influencer เป็นอย่างสูง
จะเห็นได้ว่าในการเริ่มต้น Nano Influencer เป็นอะไรที่ดูจะใกล้ตัวมากที่สุดแล้ว สไตล์ของ Nano Influencer นั้นจะต่างจากกลุ่มอื่นตรงที่จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าในแบบให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเพื่อน หรือครอบครัว มากกว่าจะไปโฆษณาจริงจัง ให้อารมณ์ปากต่อปาก ทำให้ดูน่าเชื่อ และจริงใจมากกว่า
      โปรแกรมตลาดและการโฆษณาบ่อยครั้งจะเลือกที่จะทำงานกับ influencer ทั้งสามประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญทางการตลาดที่จะตั้งขึ้น การเลือกใช้ influencer ใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแบรนด์หรือแคมเปญนั้นๆ
 
 
อินฟลูเอนเซอร์ เคโอแอล เคโอเอส เคโอเอฟ เคโอซี หมายถึงอะไร ?
     ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้การสื่อสารทางการตลาดเปลี่ยนไปมาก ผู้คนที่ถูกเรียกโดยรวมว่า Influencer นั้นก็สามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท
และแบรนด์ควรต้องเลือกการสื่อสารผ่านบุคคลที่เหมาะสมเพื่อให้การสื่อสารนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด


     Influencer ผู้ถือครองพลังแห่งการสื่อสารโลก Social Media ส่วนมากแล้วจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ดาราไปจนถึงเหล่า Youtuber
การสื่อสารผ่าน Influencer จึงเป็นการสร้างการรับรู้ของแบรนด์เป็นวงกว้าง ให้ผู้คนรับรู้แบรนด์จากไลฟ์สไตล์ของบุคคลเหล่านั้น เป็นการใช้ความสนใจในตัวของ Influencer คนนั้นของผู้ติดตามเพื่อสอดแทรกแบรนด์ให้ถูกมองเห็น
*Influencer ใช้งานแบรนด์ไหน ก็มีโอกาสให้เกิดพฤติกรรมการใช้ตามได้
 
 
     KOL พลังแห่งการสื่อสาร “เฉพาะกลุ่ม” ย่อมาจากคำว่า Key Opinion Leader ซึ่งหมายถึง “ผู้นำทางความคิด” หรือก็คือกลุ่มคนที่มี
ความน่าเชื่อถือในเรื่องต่างๆ จนสามารถแนะนำและทำให้ผู้คนสนใจตามไปกับการกระทำและความคิดของพวกเขาได้ 
*KOL เหมาะกับการใช้งานในการสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่มในสินค้าหรือการบริการ
 
 
     KOC ย่อมาจาก Key Opinion Consumer  ไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียงทั้งในโลกโซเชียลและโลกโทรทัศน์ เป็นเพียงคนทั่วไปที่ได้รับประสบการณ์ 
จากการใช้สินค้าหรือการบริการจริงๆ และนำมารีวิวให้คนอื่นได้รับรู้จนมีฐานผู้ติดตามจากการใช้งานสินค้าหรือการบริการนั้นจริงๆ รีวิวโดยไม่ได้เติมแต่งในส่วนเรื่องราว ทำให้คอนเทนต์ที่ได้จาก KOC จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเชื่อถือจากตัวสินค้าจริงๆ และตัดสินใจใช้งานจากฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์
*KOC จะเป็นผู้ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและส่งผลกับการตัดสินใจในการใช้งานสินค้าหรือการบริการของแบรนด์
 
 
     KOS ย่อมาจากคำว่า Key Opinion Spreader เหมาะสำหรับในกลุ่ม หรือชุมชนเฉพาะกลุ่ม
แฟนคลับไม่ดีเท่า KOL แต่มีความสามารถในการเป็นผู้นำเทรนด์  ของกลุ่มนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ชื่นชอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความพยายามอย่างสูงที่จะใช้รีวิวโทรศัพท์มือถือใหม่ๆ เพื่อช่วยให้แบรนด์ต่างๆ เข้าถึงผู้ใช้เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
 
 
     
KOF ย่อมาจากคำว่า Key Opinion Followers KOF เป็นเหมือนแฟนตัวยงของแบรนด์
เช่น ผู้ใช้ที่ชอบลิปสติกและน้ำหอมยี่ห้อหนึ่ง พอมีสินค้าใหม่ของแบรนด์ออกมาก็จะซื้อไปรีวิวให้เพื่อน ๆ ได้ชื่นชม
 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้