บริการขึ้นทะเบียน GACC

        GACC คือ การขึ้นทะเบียนผู้ผลิตสินค้าอาหารส่งออกไปจีน ตามระเบียบฉบับใหม่ของจีน (ระเบียบ 248-249)
ระเบียบใหม่ของจีนในการนำเข้าสินค้าอาหาร ประกาศโดยสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of Customs of the People's Republic China: GACC)

  · ระเบียบฉบับที่ 248 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ
(Regulations on the Registration and Administration of Overseas Producers of Imported Food: Decree 248)

  · ระเบียบฉบับที่ 249 ว่าด้วยมาตรการความปลอดภัยสำหรับอาหารนำเข้าและส่งออก
(Administrative Measures on Import and Export Food Safety: Decree 249)

สำนักงานศุลกากรจีน ได้มีการออกประกาศระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ (248) โดยกำหนดให้ ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และสถานที่เก็บสินค้าที่ผลิตอาหาร ส่งออกมายังจีน จะต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตก่อน จึงจะสามารถส่งออกไปจีนได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมา โดยระเบียบดังกล่าวนำมาแทนที่กฎระเบียบ Decree 145 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารในต่างประเทศของสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งประเทศจีน (The General Administrationof Quality Supervision, Inspection and Quarantine: AQSIQ Decree 145) ที่เดิมระบุเฉพาะสินค้าเสี่ยงสูงบางรายการ (เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม สินค้าประมง และรังนก) ต้องขึ้นทะเบียนดังกล่าว

ระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารจากต่างประเทศต้องมีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงาน GACC ก่อนการ ส่งออกไปยังจีน โดยแบ่งสินค้าเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1) กลุ่มสินค้าที่ต้องขึ้นทะเบียนผ่านหน่วยงานกำกับดูแล (Competent Authority: CA) สำหรับกลุ่มสินค้า 18 กลุ่มสินค้า และ

  2) กลุ่มสินค้าที่ขึ้นทะเบียนโดยตรงกับ GACC

ABOUT GACC 

GENERAL ADMINISTRATION OF CUSTOMS PEOPLE’S REPUBLIC OF CHINA

“GACC” เป็นสำนักงานใหญ่ของกรมศุลกากรจีน ปัจจุบันกรมศุลกากรจีนมีพนักงาน 100,000 คนทั่วประเทศ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบด้านศุลกากร รวมถึงการตรวจคุณภาพ การตรวจสอบและการกักกันสัตว์ พืช และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ นำเข้าและส่งออก ความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าและส่งออก และการตรวจสอบสินค้า

GACC กำกับดูแลเขตศุลกากร 42 เขตซึ่งดำเนินงานผ่านด่านศุลกากรทั้งหมด 678 แห่งทั่วประเทศ

GACC มีสำนักงานในมณฑลกวางตุ้งที่เมืองกวางโจวเพื่อประสานงานระดับภูมิภาค

"ระเบียบ 248" การขึ้นทะเบียน GACC
❖ ผู้ผลิตสินค้าอาหารจากต่างประเทศที่ จะส่งไปจีน ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ GACC และดำเนินการตามกฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารของจีน ก่อนที่จะมีการส่งออก
❖ สินค้าที่ส่งไปจีน ต้องมีการติดหมายเลขการขึ้นทะเบียนลงบนบรรจุภัณฑ์ทั้งภายใน (บนตัวสินค้าที่มีการจำหน่าย) และภายนอกให้ชัดเจน

*ทะเบียนจะมีอายุ 5 ปี และต้องมีการต่ออายุล่วงหน้า 3 – 6 เดือน

ผลบังคับใช้การขึ้นทะเบียน

 ภาพตัวอย่าง การขึ้นทะเบียน GACC ที่สำเร็จแล้ว (ตัวอย่างบางส่วน)

 ผลงานการยื่นจดทะเบียน GACC ดำเนินการรวดเร็ว

เริ่มยื่นจดทะเบียนวันที่ 27/06/2566

อยู่ในกระบวนการพิจารณา GACC โดย China customsวันที่ 28/06/2566 - 29/06/2566 

ผ่านการอนุมัติ ได้เลข GACC ในวันที่ 30/06/2566 ใช้เวลาอันรวดเร็วโดยทีมงานมืออาชีพ 

ตัวอย่างฉลากจีน ที่มีการระบุ เลขขึ้นทะเบียนผู้ผลิต GACC กับประเทศจีนก่อนมีการส่งออก 

  

คำถามที่พบบ่อย

1. ระเบียบ 248 นี้ บังคับสำหรับผู้ผลิตที่ส่งไปฮ่องกง และไต้หวันหรือไม่
    ตอบ ไม่ กฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะส่วนของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น

2. หากผู้ประกอบการมีโรงงานหลายสาขา ซึ่งมีสถานที่ผลิตแตกต่างกัน ควรจะขึ้นทะเบียนอย่างไร
    ตอบ หากผู้ประกอบการมีโรงงานผลิตที่มีที่อยู่แตกต่างกัน มีการขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตต่างกัน แม้ว่าจะมีการผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน แนะนำให้มีการขึ้นทะเบียนแยกกัน เนื่องจากโรงงานดังกล่าวอาจมีรายละเอียดอื่นที่แตกต่างกัน เช่น กำลังการผลิต มีหมายเลขทะเบียนที่ออกโดยอย. แตกต่างกัน เป็นต้น

3. ระเบียบ 249 คืออะไร มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ แยกกันไประหว่างระเบียบ 248 และ 249 หรือไม่
    ตอบ ไม่ ระเบียบ 249 หรือ มาตรการความปลอดภัยสำหรับอาหารนำเข้าและส่งออก (Administrative Measures on Import and Export Food Safety: Decree 249) ประกอบด้วย 6 บท 79 ข้อ เกี่ยวกับมาตรการหลัก ได้แก่ กระบวนการนำเข้าอาหารของจีน กระบวนการส่งออกอาหารของจีน การตรวจสอบและการบริหาร ความปลอดภัยด้านอาหารของจีน และบทลงโทษทางกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งอาจมีการระบุรายละเอียดที่คาบเกี่ยวถึงผู้ผลิตอาหารจากต่างประเทศอยู่ด้วย

4. หากเป็นเกษตรกร และโรงคัดบรรจุที่ส่งออกผลไม้สด ต้องขึ้นทะเบียน 248 อีกหรือไม่
    ตอบ ไม่ เนื่องจากกลุ่มสินค้าผลไม้สด ไม่อยู่ภายใต้ขอบข่ายที่อยู่ในระเบียบ 248 นี้ แต่ไทยและจีนได้มีการจัดทำข้อกำหนดหรือพิธีสารร่วมกันเกี่ยวกับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกผลไม้สดไปยังจีนต้องมีการขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุจากกรมวิชาการเกษตร ก่อนจะเสนอให้ GACC พิจารณาประกาศหมายเลขทะเบียนที่ได้รับอนุญาต และมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อประสานงานไปยังกรมวิชาการเกษตรได้โดยตรง
 
5. การติดหมายเลขทะเบียนที่ได้รับจาก GACC จะมีแนวทางอย่างไร แตกต่างจากข้อบังคับเดิมของจีนหรือไม่
    ตอบ การติดหมายเลขทะเบียนผู้ผลิตที่ได้รับจาก GACC ถือเป็นข้อกําหนดเพิ่มเติม ผู้ประกอบการยังต้อง ดําเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของตน เช่น 

     • General Principles for the Labelling of Pre-packaged Foods  (GB7718) 
     • Standard for Nutrition Labelling of Pre-packaged Foods.      (GB28050)
     • Labelling of Pre-packaged Foods for Special Dietary Uses.    (GB13432) 

โดยข้อมูลที่ถูกระบุอยู่ในฉลากต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของจีน เป็นข้อมูลจริง ครบถ้วน และสอดคล้องกับ ข้อมูลที่ผู้ประกอบการกรอกลงในระบบ CIFER ซึ่งฉลากต้องแสดงให้เห็นชัดเจน ไม่ลอกเลือน โดยอาจถูกพิมพ์ลง บนสติกเกอร์หรือสกรีนลงบรรจุภัณฑ์ซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบของจีน 

(เว้นแต่ผลิตภัณฑ์บางประเภทที่มี ข้อกําหนดเฉพาะ เช่น อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อาหารทารก เป็นต้น ที่ไม่สามารถใช้สติกเกอร์ได้)

 

   

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้